ผงะ แหล่งผลิตแชมพูกวนมือปลอมสารพัดยี่ห้อ กรอกขวดรีไซเคิลขายตลาดนัด

ผงะ บุกทลายแหล่งผลิต แชมพูกวนมือปลอมสารพัดยี่ห้อ กรอกขวดรีไซเคิลขายตลาดนัดทั่วกรุงเทพและปริมณฑล

 

วันที่ 3 พฤษภาคม 2567 กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง,เจ้าหน้าที่ตำรวจ ปคบ. , สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกันแถลงข่าว ทลายแหล่งผลิตแชมพูสระผม, ครีมนวดผม, ครีมอาบน้ำปลอมยี่ห้อดัง ตระเวณขายตามตลาดนัด ตรวจยึดของกลาง จำนวน 56 รายการ รวมกว่า 779 ชิ้น มูลค่ากว่า 100,000 บาท

เนื่องจากได้รับการแจ้งเบาะแสจากประชาชนให้ตรวจสอบบ้านพักอาศัยที่ลักลอบผลิตแชมพูยี่ห้อต่างๆ ซึ่งเป็นที่นิยมตามท้องตลาดโดยจำหน่ายให้กับประชาชน ตามตลาดนัด และแหล่งชุมชนในราคาถูกเกินกว่าความเป็นจริง เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้สืบสวนติดตามจนทราบถึงสถานที่ผลิตสินค้าดังกล่าวจนนำมาสู่การเข้าตรวจค้นในครั้งนี้

ต่อมาวันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ. จึงได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่จาก

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) นำหมายค้นของศาลจังหวัดนนทบุรี เข้าตรวจค้นบ้านพักอาศัยในหมู่บ้านบัวทอง หมู่ที่ 9 ต.บางรักพัฒนา อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี พบ นายดำรงเดช(สงวนนามสกุล) อายุ

31 ปี เป็นผู้นำตรวจค้น ตรวจยึด ผลิตภัณฑ์แชมพู ครีมนวดผม ครีมอาบน้ำ สูตรต่างๆ ซึ่งผลิตและเตรียมนำไปจำหน่ายให้ลูกค้า จำนวน 129 ชิ้น , สารตั้งต้นที่ใช้ผลิต อาทิเช่น เคมีภัณฑ์ชนิดผง เหลวใส หัวน้ำหอม และขวดบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว สำหรับเตรียมบรรจุเครื่องสำอางกวนขาย จำนวน 667 ขวด โดยพบยี่ห้อที่ถูกปลอม จำนวน 7 ยี่ห้อ รามกว่า 159 สูตร ดังนี้

1. แชมพูยี่ห้อ Sunsilk

จำนวน 31 ขวด

2. แชมพูยี่ห้อ Loreal Paris Elseve จำนวน 9 ขวด

3. แชมพูยี่ห้อ Head&shoulder

จำนวน 21 ขวด

4. แชมพูสระผมยี่ห้อ PANTENE

จำนวน 19 ขวด

5. ครีมนวดผม ยี่ห้อ PANTENE

จำนวน 1 ขวด

6. ครีมอาบน้ำ ยี่ห้อ Vaseline

จำนวน 9 ขวด

7. ครีมอาบน้ำ ยี่ห้อ Shokubutsu Monogatari จำนวน 16 ขวด

8. แชมพูสระผมยี่ห้อ DOVE

จำนวน 20 ขวด

9. ครีมนวดผม ยี่ห้อ DOVE

จำนวน 4 ขวด

10.ขวดเปล่าฉลากระบุแชมพูสระผม และครีมนวดผม คละยี่ห้อจำนวน 467 ขวด

11. ขวดเปล่าครีมอาบน้ำ คละยี่ห้อจำนวน 200 ขวด

12.เคมีภัณฑ์ ฉลากระบุ ผงข้น ถุงละ 1 กิโลกรัม จำนวน 10 ถุง

13.เคมีภัณฑ์ ฉลากระบุ ฟองเส้น ถุงละ 1 กิโลกรัม จำนวน 5 ถุง

14.เคมีภัณฑ์ ฉลากระบุ KALCOL ถุงละ 1 กิโลกรัม จำนวน 1 ถุง

15.เคมีภัณฑ์ ฉลากระบุ MARCOQUARTA ถุงละ 1 กิโลกรัม จำนวน 1 ถุง

16. เคมีภัณฑ์ใส ใส่ถุงพลาสติก ฉลากระบุ N-70 บรรจุถุงละ 4 กิโลกรัม จำนวน 5 ถุง

17.เคมีภัณฑ์ ฉลากระบุ ขาวขุ่น ถุงละ 0.5 กิโลกรัม จำนวน 2 ถุง

18. หัวน้ำหอม จำนวน 2 ขวด

19. สีสำหรับผสม คละสี จำนวน 7 ขวด

20. ฝาหัวปั้ม จำนวน 70 ชิ้น

21. พลาสติกสำหรับหุ้มขวด จำนวน 40 ใบ

22. อุปกรณ์ในการผลิต ได้แก่ ไม้พาย ถังพลาสติก เหยือก กระบวย หม้อ ไดร์เป่าลมร้อน จำนวน 10

ชิ้น

จากการสอบถาม นายดำรงเดช (สงวนนามสกุล) รับว่า ตนเองจบระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้ ศึกษาวิธีการผลิตแชมพูสระผม ครีมนวดผม และครีมอาบน้ำ ด้วยตนเองผ่านยูทูปจนพัฒนาสูตร จนใกล้เคียงกับสินค้าที่ขายตามท้องตลาด จึงได้ทดลองผลิตและจำหน่าย เมื่อได้รับการตอบรับจากลูกค้าดี จึงเพิ่มจำนวนการผลิตมากขึ้น โดยตนจะซื้อขวดบรรจุภัณฑ์จากร้านรับซื้อของเก่า ในพื้นที่สายไหม ในราคากิโลกรัมละ 50 บาท จากนั้นนำมาทำความสะอาด เพื่อขจัดคราบ และให้ดูเหมือนของใหม่ โดยซื้อวัตถุดิบในการผลิตมาจากร้านขายเคมีภัณฑ์หลายแห่ง ได้แก่ ย่านวงเวียนใหญ่, โรงพยาบาลกลาง และบริเวณตลาดบางบัวทอง

โดยผลิตแชมพูโดยการนำยาหัวเชื้อ มาเทใสในถัง นำผงเข้ม(เกลือ) มาเทผสมเพื่อทำให้ครีมเหนียว โดยใช้น้ำเปล่า จากก็อกน้ำในห้องน้ำมาผสมจนได้เนื้อ สี และกลิ่นเหมือนผลิตภัณฑ์ของจริง จากนั้นนำมาบรรจุลงขวด ชีลพลาสติกใหม่เตรียมส่งขายให้กับลูกค้า โดยการผลิต 1 ถัง จะบรรจุได้ประมาณ 100-120 ขวดในส่วนครีมอาบน้ำ จะมีขั้นตอนการผลิตโดยนำผงเกล็ดไปต้มน้ำในหม้อหุงข้าวให้ละลาย จากนั้นนำมาใส่ถังผสมเช่นเดียวกับการผลิตแชมพู หลังจากผลิตเสร็จจะนำสินค้าใส่รถยนต์กระบะ ตระเวนขายตามตลาดนัดในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล เช่น ตลาดเพชรเกษม ย่านบางแค กรุงเทพมหานคร, ตลาดระแห่ง,

ตลาดโพทะ, ตลาดอิคคิว จังหวัดนนทบุรี ,ตลาดบ้านโป้ง,ตลาดโพธาราม จังหวัดราชบุรี,ตลาดอ้อมใหญ่ จังหวัดนครปฐม, ตลาดนัดเพนียดท้องช้างเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น

โดยติดป้ายโฆษณาเสนอขายในราคาโปรโมชั่น 3 ขวด 100 บาท และขายปลีกแยกเป็นขวด ราคา

ตั้งแต่ 39-59 บาท ซึ่งของแท้จะขายในราคาที่แพงกว่า 34 เท่า โดยอ้างกับลูกค้าว่าเป็นสินค้ามามีตำหนิ ขวดไม่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากโรงงาน และรับว่าได้ผลิตและนำสินค้าออกไปขายสัปดาห์ละ 1 -3 วัน โดย

ขายได้วันละประมาณ 100-150 ขวด มีรายได้ประมาณเดือนละ 60,000 บาท ทำมาแล้วประมาณ 1 ปี จากการตรวจสอบผลิตภัณฑ์พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่เป็นของปลอมนั้นนอกจากจะมีการจำหน่ายในราคาต่ำกว่าราคาจริงแล้ว ตัวอักษรบนขวดบรรจุภัณฑ์จะไม่ชัดเจนเนื่องจากผ่านกระบวนการล้างทำความสะอาดและจะมีชีลพลาสติกหุ้มเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่จากโรงงาน

เบื้องต้นการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2558

1.ฐาน "ผลิตเครื่องสำอางที่มิได้จดแจ้ง" ระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 50,000

บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

2. ฐาน "ขายเครื่องสำอางที่มิได้จดแจ้ง " ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 เดือนหรือปรับไม่เกิน 20,000

บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

3. ฐาน "ผลิตเครื่องสำอางปลอมฝ่าฝืนมาตรา 27(2) ประกอบมาตรา 29 (1) โดยเป็นเครื่องสำอางที่ใช้ฉลากแจ้งชื่อผู้ผลิต หรือแหล่งผลิตที่ไม่ใช่ความจริง " ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ

ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

4. ฐาน "ผลิตเครื่องสำอางปลอมผ่าฝืนมาตรา 27(2) ประกอบมาตรา 29 (4) โดยเป็นเครื่องสำอางที่แสดงว่าเป็นเครื่องสำอางที่ได้จดแจ้งไว้ซึ่งมิใช่ความจริง" ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีหรือ

ปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

5. ฐาน "ผลิตเครื่องสำอางฉลากแสดงข้อความที่ไม่ตรงต่อความจริง" ระวางโทษจำคุกไม่เกินหก

เดือนหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ.

 

อ่านข่าวต้นฉบับ:

อมรินทร์ทีวี ทันข่าวได้ที่

เว็บไซต์:www.amarintv.com

เรื่องธุรกิจที่ :ติดตาม SPOTLIGHT มองขาดทุกโอกาสธุรกิจ

2024-05-03T05:05:58Z dg43tfdfdgfd